วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

6.1 มาตรฐาน ISO9000


            กรมอาชีวศึกษา (2539 :13) กล่าวว่า มาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9000 หมายถึงมาตรฐานสากล
เกี่ยวกับระบบบริหารงานคุณภาพขั้นพื้นฐานที่ใช้เพื่อการบริหารหรือจัดการคุณภาพและการประกันคุณภาพ
โดยเน้นการสร้างคุณภาพภายในองค์กร ซึ่งจะเน้นองค์กรประเภทใดก็ได้ไม่จำกัดชนิดของสินค้าหรือบริการ
ไม่ระบุชนิดหรือขนาดของอุตสาหกรรมใดโดยเฉพาะ นำมาใช้โดยไม่มีขีดจำกัด
          สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) (2546 : 2/16) ได้นิยามความหมายระบบบริหารงาน
คุณภาพ (Quality Management System) หมายถึง ระบบที่มีการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์และการ
ดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดทิศทางและควบคุมองค์การในเรื่องคุณภาพ
          สรุป มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 คือมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นระบบบริหาร
ประกันคุณภาพขั้นพื้นฐานอันเกี่ยวกับการจัดการทางด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ โดยมีความมุ่งหมาย
ที่จะให้ระบบคุณภาพเท่าเทียมกันระหว่างองค์การต่าง ๆ และประเทศต่าง ๆ
ประวัติความเป็นมาของมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000
องค์กรสากลว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization : ISO) ซึ่ง
ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ก่อตั้งเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1947 (พ.ศ. 2490) ปัจจุบัน
มีสมาชิก 143 ประเทศ ซึ่งครั้งแรกนั้นมีผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ 25 ประเทศร่วมประชุมกันที่กรุงลอนดอน
มีมติตั้งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานขึ้น และสหประชาชาติได้ให้การยอมรับเป็นองค์การ
ชำนาญพิเศษประเภทที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐบาล
จุดเริ่มแรกในการดำเนินระบบมาตรฐาน ISO 9000 คือ สถาบันมาตรฐานแห่งประเทศเยอรมนี
(DIN) ในปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) มีแนวคิดพื้นฐานคือ การนำระบบมาตรฐานของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน
มารวมให้เป็นมาตรฐานประเภทเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นซึ่งตรงกับหลักการ
ของ ISO ดังนั้นทาง ISO จึงได้ตั้งคณะกรรมการทางด้านเทคนิค (Technic Committee : ISO/TC/176) ขึ้นมา
การจัดตั้งองค์กร ISO มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการกำหนดมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือเกิดระบบมาตรฐานของโลกที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป
ISO เดิมใช้คำย่อว่า "IOS" โดยมีความหมายในภาษากรีกแปลว่า ความสับสน (ไม่เป็นมงคล)
จึงเปลี่ยนมาเป็น ISO ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ ISOS แปลว่า "เท่าเทียมกัน" และตรงกับเจตนารมณ์ขององค์การ
ISO ที่ต้องการให้ทั่วโลกมีมาตรฐานที่มีความเท่าเทียมกัน (ทัดเทียมกัน) โดยมีภารกิจหลัก คือ
1. ให้การสนับสนุนพัฒนามาตรฐาน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อสนองต่อการค้าขายแลกเปลี่ยน
สินค้า และบริการของนานาชาติทั่วโลก
2. พัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และภูมิปัญญาของมวลมนุษย์
ชาติ
ผลงานที่เป็นรูปธรรมของ ISO คือ การกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่ามาตรฐานสากล (Inter-
national Standard) ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการวิชาการด้าน
เทคนิคขึ้นมาคณะหนึ่ง เป็นกรรมการชุดที่ 176 จากที่มีกรรมการขณะนี้กว่า 2000 ชุด กรรมการชุดนี้เรียกว่า
Technical Committee, ISO/TC Quality Assurance และ
คณะกรรมการวิชาการชุดที่ 176 ได้ดำเนินการยกร่างระบบบริหารงานคุณภาพเป็นสากล ต้นแบบ
ของ ISOO 9000 นั้นมาจากมาตรฐานแห่งชาติของอังกฤษ คือ BS 5750 มาเป็นแนวทาง คือระบบบริหารงาน
คุณภาพ ISO 9000 เป็นมาตรฐานของระบบการบริหารงาน เพื่อให้เกิดคุณภาพ ซึ่งมาตรฐานนี้ได้ระบุถึงข้อ
กำหนดที่จำเป็นต้องมีในระบบคุณภาพและใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติซึ่งสามารถใช้ได้กับอุตสาหกรรม
พาณิชยกรรม ธุรกิจการบริหารทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
ISO ประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเภท คือ
1. Member Body เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ ซึ่งหมายถึง เป็นตัวแทนทางด้านการมาตรฐาน
ของประเทศนั้น ๆ มีสิทธิออกเสียงในเรื่องของวิชาการ มีสิทธิเข้ารับการเลือกตั้งเป็นคณะมนตรี ISO และ
สามารถเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่
2. Correspondent Member เป็นหน่วยงานของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งยังไม่มีสถาบันมาตรฐาน
เป็นของตัวเอง สมาชิกประเภทนี้จะไม่เข้าร่วมในเรื่องของวิชาการ แต่มีสิทธิจะได้รับข่าวสารความเคลื่อนไหว
ของ ISO และเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่ในฐานะผู้สังเกตการณ์
3. Subscribe Membership สมาชิกประเภทนี้ เปิดสำหรับกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจค่อนข้างเล็ก
ให้สามารถติดต่อกับ ISO ได้
          สำหรับประเทศไทยได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบในเรื่องมาตรฐานของประเทศ เรียกว่า
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) (Thai Industrial Standard Institute: TISI) สังกัดกระทรวง
อุตสาหกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2511 หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-1550 โทรสาร 02-246-4085, 246-4307 (สำหรับ
มาตรฐานที่ใช้ควบคุมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรียกว่า มาตรฐานอุตสาหกรรม : มอก.) และ สมอ. ได้ประกาศ
ใช้อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2534 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108
ตอนที่ 99 วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยใช้ชื่อว่า อนุกรมมาตรฐานระบบคุณภาพ มอก. - ISO 9000 ในปี
พ.ศ. 2542
ภาพที่ 39 แสดงเครื่องหมายที่ใช้รับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดย สมอ.
เครื่องหมายมาตรฐาน ทั่วไป

เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ
เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย

เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม

เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า
ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกส่วนมากให้การยอมรับมาตรฐาน ISO 9000 อย่างชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตามได้มีการเรียกชื่อระบบคุณภาพที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ดังนี้
 ชื่อเรียก และอักษรย่อสำหรับมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9000 ของประเทศต่าง ๆ
ชื่อประเทศ
ชื่อเรียกย่อ
1. มาตรฐานไอเอสโอ
2. ออสเตรเลีย
3. ออสเตรีย
4. เบลเยี่ยม
5. แคนาดา
6. เดนมาร์ก
7. ตลาดร่วมด้านเศรษฐกิจของยุโรป
8. ฟินแลนด์
9. ฝรั่งเศส
10. เยอรมัน
11. อินเดีย
12. ไอร์แลนด์
13. เนเธอร์แลนด์
14. นอร์เวย์
15. แอฟริกาใต้
16. สเปน
17. สวีเดน
18. สวิตเซอร์แลนด์
19. เครือจักรภพ
20. สหรัฐอเมริกา
21. ยูโกสลาเวีย
22. ญี่ปุ่น
23. สิงคโปร์
24. ไทย
25. จีน
1. ISO 9000
2. AS 3900
3. Norm ISO 9000
4. NBN X 50-002-1
5. DS/ISO 9000
6. DS/EN 29000
7. EN 29000
8. SFS-ISO 9000
9. NF S 50-121
10. DIN ISO 9000
11. IS 300
12. ISO 9000
13. NEN-ISO 9000
14. NS 5801
15. SABS 0157
16. UNE 66 900
17. SS 9000
18. SN-ISO>900
19. BS 5750
20. ANSI/ASQC Q90
21. JUS A.K.1.010
22. JISZ 9900 - 1991
23. SS 308.1998
24. TISI ISO 9000
25. GB/T 10300.1-88
สรุปประวัติความเป็นมาของ ISO
1. ISO ย่อมาจากคำว่า International Organization for Standardization (องค์การระหว่าง
ประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน) ซึ่งเป็นองค์การสากลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดหรือปรับมาตรฐาน
นานาชาติเกือบทุกประเภท (ยกเว้นด้านไฟฟ้า ซึ่งเป็นหน้าที่ของ IEC) เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ในโลก